tamanit http://tamanit.siam2web.com/

กรณีศึกษา 6   บริษัท  มุ่งมั่นค้าเหล็ก

                    บริษัท มุ่งมั่นค้าเหล็ก จำกัด ถือกำเนิดมาจากร้านค้าเล็ก ๆ ในย่านเยาวราช  ย่านธุรกิจเก่าแก่ของกลุ่มคนจีนในประเทศไทย

ด้วยวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของผู้ก่อตั้งทั้ง 2 คน ประเทืองและสมถวิล ซึ่งมองว่าอุตสาหกรรมเหล็กนับเป็นวัสดุพื้นฐานสำคัญ และเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ จึงเริ่มผันตนเองสจากธุรกิจข้าวมาเป็นธุรกิจค้าเหล็ก

                    ดังนั้นบริษัทมุ่งมั่นค้าเหล็ก จำกัด จึงก่อตั้งขึ้นในปี 2501 โดยการจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด และขยายตัวขึ้นมาเป็นบริษัทจำกัด ในปี 2505 เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเหล็กจากต่างประเทศ และเริ่มก่อตั้งโรงงานแห่งแรก คือ โรงงานมุ่งมั่นลวดและตะปูจำกัด

เป็นโรงงานที่ผลิตลวดและตะปูสำหรับจำหน่ายภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า

                    ส่วนระบบการบริหารการจัดการ แบ่งงานเป็น 2 ส่วน ไดแก่ บริษัท มุ่งมั่นค้าเหล็ก จกัด นั้นมีหน้าที่จัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ และขายสินค้าให้กับโรงงานมุ่งมั่นลวดและตะปู จำกัด และยังคงดำเนินธุรกิจนำเข้าและจัดจำหน่ายเหล็กประเภทอื่น ๆ  โดยที่อำนาจในการบริหารนั้นอยู่ที่เจ้าของทั้งสอง หากมีเรื่องอะไรก็รายงานเจ้าของคนใดคนหนึ่งทราบและเจ้าของก็ตัดสินใจทันที ระบบเอกสารต่าง ๆ ที่เป็นทางการนั้นมีเพียงใบขนส่งสินค้า และใบเสร็จรับเงินเท่านั้นเอง

    * ลักษณะโครงสร้างองค์การของกลุ่มบริษัท มุ่งมั่นค้าเหล็ก จำกัด แผนผัง ดังนี้

ระดับบนสุด คือ เจ้าของ

ถัดลงมาจากระดับบน  แบ่งเป็น 2  บริษัท  คือ  บริษัท มุ่งมั่นค้าเหล็ก จำกัด  , บริษัทมุ่งมั่นลวดและตะปู

ถัดลงมา บริษัทมุ่งมั่นลวดและตะปู แยกออกมาเป็น 3 หน่วย คือ หน่วยผลิต  , คลังสินค้า, หน่วยซ่อม

                    การบริหารการจัดการในรูแปบบนี้ได้ดำเนินการต่อเนื่องถึง 30 ปี โดยมีการขยายโรงงานเพิ่มขึ้นอีก 9 โรงงาน จากยอดขาย 10 ล้านต่อปี ขยายเป็น 5,000 ล้านบาทต่อปี  พนักงานทั้ง 1 บริษัทมีประมาณ 500 คน

                    การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในช่วงต่อมาเมื่อผู้บริหารที่เป็นพี่สาว คือ คุณสมถวิล ได้วางมือและมอบหมายให้คุณประเทืองดูแลกิจการทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว คุณประเทืองมอว่าควรมีการลงทุนที่มีขนาดใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมที่อำเภอบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และที่อำเภอบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา แต่เนื่องจากเป็นโครงการที่ใช้การลงทุนเป็นจำนวนมากและจำเป็นที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ คุณประเทืองตัดสินใจในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน คือ การร่วมลงทุนกับต่างประเทศ โดยตั้งชื่อบริษัทใหม่ว่า

บริษัทมุ่งมั่นเหล็กแผ่นรีดร้อน จำกัด ร่วมกับทางอิตาลี ส่วนบริษัทมุ่งมั่นเหล็กแผ่นรีดเย็นจำกัด ร่วมกับญี่ปุ่น

*แผนผัง โครงการของกลุ่มบริษัทมุ่งมั่นค้าเหล็ก 

ระดับบนสุด คือ เจ้าของ

ถัดลงมาจากระดับบน  แบ่งเป็น 4  บริษัท  คือ  โรงงานที่ 1-9, บริษัทมุ่งมั่นค้าเหล็ก, บริษัทมุ่งมั่นเหล็กแผ่นรีด, บริษัทมุ่งมั่นเหล็กแผ่นรีดเย็น

 

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการร่วมลงทุนกับต่างชาติ คือ วัฒนธรรมที่แตกต่างกันตั้งแต่เรื่องอาหาร  ทางวิศวกรของทางอิตาลีแจ้งว่า

ไม่สามารถรับประทานอาหารไทยได้ อยากให้มีคนทำอาหารอิตาเลียนให้ทาน ทางคุณประเทืองเห็นว่าคนจากบ้านเมืองย่อมเป็นโรค

คิดถึงบ้านจงดำเนินการจัดให้ โดยการจ้างกุ๊กมาให้จากกรุงเทพ ทางญี่ปุ่นเห็นว่าอิตาเลียนได้จึงแจ้งความประสงค์ว่ามีความต้องการเช่นเดียวกัน เรื่องภาษาทางคุณประเทืองจัดหาล่ามให้ทั้งสองฝ่ายในขณะที่ทางคนไทยกลับมองว่าทำไมต้องเอาใจญี่ปุ่นและอิตาลีขนาดนั้น เพราะพวกเดียวกันฝ่ายคนไทยกลับไม่สามรถต่อรองอะไรได้เลยจึงขาดกำลังใจ รวมทั้งในภายหลังชาวต่างชาติไปมีปัญหากับชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นต้องตามเข้าไปก้ไขเป็นระยะ ๆ

                    ต่อมาเนื่อจากทางรัฐบาลเกิดผิดข้อสัญญาตกลงที่ให้ไว้กับบริษัทมุ่งมั่นเหล็กแผ่นรีดร้อน จำกัด เรื่องการคุ้มครองว่าจะไม่ให้มีใครผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนในระยะเวลา 5 ปี แต่รัฐบาลกลับอนุมัติให้ทางบริษัท สวัสดิ์และเพื่อน จำกัด มาตั้งโรงงานผลิตสินค้าแข่ง ทางอิตาลีจึงมองว่าประเทศไทยไม่น่าลงทุนและตัดสินใจถอนการลงทุน  ทางคุณประเทืองจึงตกลงใจในการดึงญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในบริษัทมุ่งมั่นค้าเหล็กแผ่นรีดร้อน จำกัด แทน

                    การทำงานกับญี่ปุ่นเริ่มมีปัญหาตั้งแต่ความเข้าใจในภาษา เนื่องจากในช่วงแรกมีความจำเป็นที่จะต้องให้ชาวญี่ปุ่นเข้ามาบริหารในสายการผลิต โดยให้คนไทยเป็นฝ่ายสนับสนุนเพื่อเรียนรู้งานซึ่งทางฝ่ายญี่ปุ่นได้พยายามที่ใช้ระบบต่าง ๆ ที่ใช้ในโรงงานที่ญี่ปุ่น อาทิเช่น JIT, TQM รวมทั้งการอบรมนอกเวลางาน เป็นต้น แต่คนไทยกลับมองว่าเวลาทำงาน 6 วัน ก็เหนื่อยมากแล้ว ดังนั้นการทำงานนอกเวลางานควรจะเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล เหตุการณ์ดังกล่าวร่วมกับปัญหาอื่น ๆ ทำให้คนญี่ปุ่นมองว่าคนไทยขี้เกียจ ไม่สนใจทำงาน ไม่ตรงต่อเวลา ไม่เอาใจใส่ในการทำงานเท่าที่ควร ในเวลาประชุมเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ คนไทยไม่ยอมออกความเห็นในที่ประชุม และแม่ว่ามีความเห็นแต่ไม่มีเอสารมารับรองความเห็นนั้น ในขณะที่ญี่ปุ่นมีเอกสารมาสนับสนุนตลอด นอกจากนี้ญี่ปุ่นมองว่าคนไทยไม่จริงจังในการทำงานชอบเล่นมากกว่า แม้แต่การประชุม ซึ่งทางญี่ปุ่นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในจณะที่ฝ่ายพนักงานไทยรู้สึกว่าคนญี่ปุ่นดูถูกคนไทยจึงเกิดการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน การ turnover  ของพนักงานฝ่ายไทยจึงเพิ่มสูงขึ้นตลอดมา

                       -----------------------------------------------------------

คำถาม

1.        กรณีศึกษานี้ สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมแบบใด

2.        ท่านจะมียวิธีการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งทางวัฒนธรรมของ บริษัท มุ่งมั่นค้าเหล็ก อย่างไร

------------------------------------------------------------------


Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 1,724 Today: 2 PageView/Month: 1

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...